วันอังคารที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2557

การส่งผลงานการประกวดแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practices)เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา

กลุ่มงานจัดการเรียนการสอนและงานวิชาการได้นำเสนอแนวปฏิบัติที่ดี เรื่อง "การให้บริการวิชาการหลักสูตรพัฒนาทักษะและเสริมสร้างประสบการณ์ด้านอาชีพและด้านคุณภาพชีวิตของวิทยาลัยชุมชน"" และได้รับรางวัลประเภท "ชมเชย"
ในโครงการประกวดแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practices)เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา วันจันทร์ ที่ 26 พฤษภาคม 2557 ณ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 


นิเทศติดตามการจัดฝึกอบรมหลักสูตรระยะสั้น

กลุ่มงานจัดการเรียนการสอนและงานวิชาการ ได้ดำเนินการนิเทศการฝึกอบรมผู้เข้ารับการฝึกอบรมของวิทยาลัยชุมชนนราธิวาส เพื่อติดตามและประเมินผลการดำเนินการฝึกอบรมของวิทยาลัยชุมชน โดยกลุ่มงานจัดการเรียนการสอนได้สำรวจความพึงพอใจในการรับบริการฝึกอบรมหลักสูตรระยะสั้น และติดตามผลผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรระยะสั้นของวิทยาลัยชุมชนนราธิวาส
นิเทศหลักสูตรการเดินสายไฟภายในอาคาร

นิเทศหลักสูตรการประดิษฐ์ของชำร่วย
นิเทศหลักสูตรการทำขนมไทย

นิเทศหลักสุตรการทำอาหารคาวพื้นบ้าน
นิเทศหลักสูตรขนมไทยพื้นบ้าน

นิเทสหลักสูตรการจักสานฝาชีแฟนซี

นิเทศหลักสูตรการตัดเย็บเสื้อผ้าสตรีสมัยนิยม


ภาพบรรยากาศกิจกรรมการแข่งขันทักษะทางวิชาชีพของวิทยาลัยชุมชน 7จังหวัดภาคใต้

กลุ่มงานจัดการเรียนการสอนและงานวิชาการ ได้นำผู้ฝึกอบรมหลักสูตรพัฒนาทักษะและเสริมสร้างประสบการณ์ด้านอาชีพและด้านคุณภาพชีวิต เข้าร่วมแข่งขันทักษะทางวิชาชีพ ของ งานมหกรรมทัวิชาการวิทยาลัยชุมชน 7 จังหวัดภาคใต้ ระหว่างวันที่ 17 - 18 พฤษภาคม 2557 ณ สวนประวัติศาสตร์ พณ.เปรม ติณลสูลานนท์ ซึ่งวิทยาลัยชุมชนสงขลาเป็นเจ้าภาพในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ โดยการแข่งขันของหลักสูตรทักษะทางวิชาชีพ จำนวน 3 รายการ คือ
1.หลักสูตรการออกแบบและตกแต่งขนมไทย
2.หลักสูตรการจัดดอกไม้สด
3.หลักสูตรการทำน้ำพริกกะปิ

ผู้อำนวยการวิทยาลัยชุมชน7จังหวัดเปิดงานมหกรรม
ผู้เข้าร่วมการแข่งขันหลักสูตรการออกแบบและตกแต่งขนมไทย
ผลงานการแข่งขันหลักสูตรการจัดดอกไม้สด
ผลงานการแข่งขันหลักสูตรการทำน้ำพริกกะปิ
ผลงานของผู้เข้ารับการฝึกอบรมของวิทยาลัยชุมชน



วันอังคารที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2557

หลักสูตรการทำขนมไทยพื้นฐาน

วิทยาลัยชุมชนนราธิวาสได้ร่วมมือกับนายสาโรจน์ ดำอินทร์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพร่อนในการจัดฝึกอบรมหลักสูตรการทำขนมไทยพื้นฐานให้แก่กลุ่มสตรีชุมชนบ้านพร่อน ระหว่างวันที่ 7-15 กรกฎาคม 2557 ณ วัดพระพุทธ ต.พร่อน อ.ตากใบ จ.นราธิวาส 
โดยวิทยากรผู้สอน คือ นางสารีพ๊ะ ละตากอเซ็งและนางกัลญา พงษ์พราหมณ์








หลักสูตรภาษามลายูถิ่น

ภาษามลายูถิ่น เป็นภาษาสำเนียงใดสำเนียงหนึ่งที่พูดกันในแต่ละท้องถิ่น เป็นภาษาย่อยของภาษามลายูมาตรฐาน ซึ่งเป็นภาษาทางราชการและภาษาแห่งชาตของประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และบรูไน
ภาษามลายูถิ่นภาคใต้ของประเทศไทย เป็นภาษามลายูถิ่นที่พูดกันในท้องถิ่นต่างๆในบริเวณจังหวัดทางภาคใต้ของประเทศไทย ไม่จำกัดว่าเป็นจังหวัดใด โดยมากจะพูดกันในื้องถิ่นบริเวณจังหวัดชายแดนภาคใต้ เช่น ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูลและในจังหวัดสงขลาบางอำเภอ แต่จะพูดมากที่สุดในจังหวัดนราธิวาส ปัตตานี และยะลา

หน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธิน กองทัพเรือ ค่ายจุฬาภรณ์ บ้านทอน ต.โคกเคียน อ.เมือง จ.นราธิวาสได้ขอความอนุเคราะห์วิทยาลัยชุมชนนราธิวาสในการจัดฝึกอบรมหลักสูตรภาษามลายูถิ่นให้แก่หน่วยกำลังพลหน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธิน กองทัพเรือ ณ สโมสรร่มเกล้า ค่ายจุฬาภรณ์ บ้านทอน ต.โคกเคียน อ.เมือง จ.นราธิวาส ระหว่างวันที่ 19-23 พฤษภาคม 2557 โดยวิทยากรผู้สอน คือ นางเจะบีเดาะ อาบูบากา





หลักสูตรการจักสานผลิตภัณฑ์จากกระจูด

กระจูดเป็นพันธุ์ไม้จำพวกกก (Sedge) ชนิดหนึ่งในตระกูล Cyperaccae ซึ่งมีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Lepironia Articalata ขึ้นอยู่ตามชายหนองบึง ในบริเวณมีน้ำขัง และดินโคลนริมทะเล โดยเฉพาะทางภาคใต้ของไทย ลักษณะ ลำต้นกลมกลวงเป็นปล้อง มีข้อ ภายในลักษณะเป็นเยื่อบาง เส้นผ่าศูนย์กลางของ ลำต้นโดยเฉลี่ยประมาณ 1/8-4/16 นิ้ว หรือขนาดราวแท่งดินสอดำ มีความสูง ประมาณ 1.00-3.00 เมตร ไม่มีใช ดอกออกเป็นกระจุกข้างลำต้น การปลูกต้นกระจูด มักจะใช้หัวสำหรับปลูก ชาวบ้านนิยมปลูกต้นกระจูดเอาไว้ใช้สานเสื่อภายในครอบครัวและขายเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว เรียกว่า "เสื่อจูด" หรือ "เสื่อกระจูด

การฟอกย้อมสีกระจูด ชาวบ้านที่มีอาชีพทางการสานเสื่อกระจูดนิยมนำกระจูดไปสานเสื่อชนิดไม่มีลาย สำหรับชนิดมีลายโดยนำกระจูดไปย้อมสีแบบพื้นบ้าน โดยนำกระจูดไปตำให้แบนเรียบแล้วล้างโคลนที่ติดอยู่ตามผิวนอกออก ต่อจากนั้นนำไปฟอกขาวแล้วนำไปย้อมสีโดยนำไปแช่ในถังสีที่กำลังเดือด จะได้สีตามต้องการ

วิธีการสานเสื่อกระจูด นิยมสานลวดลายมาตรฐาน คือ ลายขัดสองหรือลาย ขัดสาม นอกจากนั้นมีการพัฒนาดัดแปลงลวดลายการสานต่อไปอีก เช่น ลายลูกแก้ว ลายดาวล้อมเดือน ลายดอกจันทน์ ลายแก้วต่อดอก ลายโดม ลายแก้วเนื่อง ลายก้านต่อดอก เป็นต้น ปริมาณวัตถุดิบคือกระจูดมัดหนึ่ง ๆ ที่ตัดปลายแล้วจะจำหน่าย 10 มัด ราคา 70-120 บาท ราคาเสื่อกระจูดขึ้นอยู่กับขนาดและลวดลายของเสื่อ และฝีมือการสาน โดยปกติจะสานเสื่อกระจูด 2 ขนาดคือ ขนาดเล็ก ความกว้าง ความยาวประมาณ 0.70×1.50 เมตร ต่อผืน ขนาดใหญ่ ความกว้าง ความยาวประมาณ 1.20×2.50 เมตรต่อผืน

การสานเสื่อกระจูด นิยมสานกันมากแถวบ้านทอน ตำบลโคกเคียน อำเภอเมืองนราธิวาส นอกจากจะนำกระจูดมาสานเป็นเสื่อแล้ว ยังนำมาใช้ทำใบเรือ ทำเชือกผูกมัด ทำกระสอบ หรือเครื่องหุ้มวัตถุต่าง ๆ ที่เรียกว่า Bales และสานเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ มากมาย

กระบวนการผลิต

1.วัตถุดิบและส่วนประกอบ
1. กระจูด วัตถุดิบหลัก                                   2. เครื่องรีดกระจูด ใช้รีดกระจูดให้แบน
3. สีย้อมกก ใช้ย้อมกระจูด                             4. เตาถ่าน ใช้ก่อไฟสำหรับต้มน้ำย้อมสีกระจูด
5. ปี๊บ ใช้สำหรับต้มน้ำย้อมสีกระจูด                  6. น้ำ ใช้สำหรับต้มย้อมสี , ใช้ล้างกระจูด
7. ลวดเส้นใหญ่ ใช้ทำราวสำหรับมัดกระจูด         8. ไม้ค้น ใช้สำหรับคน / กดกระจูดเวลาต้มย้อมสี
9. ไม้ยก ใช้สำหรับยกกระจูดออกจากปี๊บเมื่อต้มย้อมสีเสร็จเพื่อนำไปล้าง/ ตาก
10. ยางวงใหญ่ ใช้สำหรับมัดกระจูดเป็นมัดๆ       11. สายวัด ใช้วัดขนาดของเส้นกระจูด
12. กรรไกร มีด ใช้ตัดกระจูด                           13. โฟม ใช้ทำหุ่นเป็นทรงกระเป๋ากระจูด
14. กระดาษชาร์ท ใช้ทำแบบผลิตภัณฑ์กระจูด     15. กระดาษกาว ใช้ในการติดแบบ
16. กาวลาเท๊กซ์ ใช้ในการติดผลิตภัณฑ์กระจูด   
17. ใบมีดโกน ใช้ในการตัดเส้นกระจูดเพื่อเก็บรายละเอียดชิ้นงาน
18. เอ็น ใช้สำหรับเย็บกระเป๋ากระจูด
19. เข็ม เข็มหมุด / จักร ใช้สำหรับการเย็บการการยึดแบบผลิตภัณฑ์กระจูด
20. กระดุม / ผ้า / เชือก ใช้เป็นอุปกรณ์ตกแต่งผลิตภัณฑ์กระจูด
21. รองเท้าบู๊ท ใช้สวมใส่เวลาลงไปตัดกระจูด    22. รถเข็น ใช้เข็นกระจูด
23. ไม้ ใช้ทำราวตากกระจูด


2.ขั้นตอนการผลิต
1. ตัดต้นกระจูด
2. นำกระจูดหมักโคลน
3. นำกระจูดที่หมักโคลนแล้วตากแดดให้แห้งเก็บไว้ 2 คืน
4. นำกระจูดออกตากแดดอีกรอบ
5. มัดกระจูดที่ตากแดดแห้งแล้วเป็นมัดๆใหญ่พอประมาณ
6. นำกระจูดเข้าเครื่องรีดทีละมัด (รีดเพื่อเตรียมย้อมสี )
7. นำกระจูดที่รีดแล้ว มาแบ่งเป็นมัดเล็ก ๆ โดย1 มัดใหญ่แบ่งเป็น 4 มัดย่อย
8. ต้มน้ำในปี๊บให้เดือดด้วยเตาถ่านแล้วใส่สีย้อมกกลงในปี๊บตามสีที่ต้องการ ปี๊บละสี สีละ ครึ่งช้อนโต๊ะต่อกระจูด 4มัดย่อยที่แบ่งไว้แล้ว
9. ใส่กระจูดลงในน้ำต้มสีที่กำลังเดือดแล้วใช้ไม้กดกระจูดให้จมในน้ำสีให้มิดทั้งมัด
10. ใช้ไม้พลิกกระจูดกลับไปกลับมาประมาณ2 นาที เพื่อให้สีซึมเข้ากระจูด
11. ใช้ไม้ตัก(ช้อน) กระจูดขึ้นจากปี๊บแล้วนำไปแขวนที่ราวที่เตรียมไว้ (ราวไม้)





สำหรับการจัดฝึกอบรมหลักสูตรการจักสานผลิตภัณฑ์จากกระจูด ได้จัดฝึกอบรมให้แก่ชาวบ้านในชุมชนตำบลโคกเคียน  ณ บ้านทอนอามาน โดยวิทยากร ชื่อ นางรอฮานี  บินเจะเลาะ  โดยฝึกอบรมระหว่างวันที่4-12 มิถุนายน 2557